ReadyPlanet.com
dot
dot
ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อ
dot
dot


ID 0863661036
สมาคมผู้ประกอบกิจการกำจัดแมลง
สมาคมคนกำจัดแมลงแห่งประเทศไทย


ความรู้เกี่ยวกับมด article


            มด เป็นสัตว์ในวงศ์ Formicidae อันดับ Hymenoptera มีจำนวนชนิดมากกว่า 12,000 ชนิด โดยพบมากในเขตร้อนของโลก มดมีการสร้างรังเป็นอาณาจักรขนาดใหญ่ บางรังมีจำนวนประชากรมากถึงล้านตัว มีการแบ่งวรรณะกันทำหน้าที่คือ วรรณะมดงาน เป็นมดเพศเมียเป็นหมัน ทำหน้าที่หาอาหาร สร้างและซ่อมแซมรัง ปกป้องรังจากศัตรู ดูแลตัวอ่อน และงานอื่นๆ ทั่วไป เป็นวรรณะที่พบได้มากที่สุด วรรณะสืบพันธุ์ เป็นมดเพศผู้ และราชินี เพศเมีย มีหน้าที่สืบพันธุ์ เนื่องจากมดเป็นสัตว์ในวงศ์ Formicidae จึงสามารถผลิตกรดมดหรือกรดฟอร์มิกได้เป็นลักษะเฉพาะของสัตว์ในวงศ์นี้


     วรรณะของมดประกอบด้วย

1.  มดงาน (WORKER) เป็นมดเพศเมีย เป็นหมัน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ตามขนาด ขนาดใหญ่จะทำหน้าที่เป็นมดทหารต่อสู้ป้องกันรังขนาดเล็ก จะทำหน้าที่เป็นมดงานหาอาหารเลียงพลรัง ก่อสร้างรัง มดงานมีอายุยืนยาวประมาณ 4 - 7 ปี สังคมของมดกลุ่มๆ หนึ่งจะมีอายุนานกว่ามนุษย์

2.  มดตัวผู้ (MALE) เป็นมดมีปีก มีขนาดใหญ่ มีกล้ามเนื้อปีกที่บริเวณอกใหญ่ จะทำหน้าที่สืบพันธุ์เท่านั้น หลังจากผสมพันธุ์แล้วจะตายภายใน 1-2 วัน ส่วนใหญ่จะถูกฆ่าหรือทิ้งให้อดอาหารตาย เพราะไม่มีประโยชน์ในรังอีกต่อไปภายหลังผสมพันธุ์แล้ว

3.  มดตัวเมีย (QUEEN) มีขนาดใหญ่ที่สุดในรัง มีปีก มีหน้าที่ออกไข่เพิ่มประชากรมดเพียงอย่างเดียว ตัวอ่อนของมดจะคล้ายหนอน ไม่มีขา ตัวเล็ก ซึ่งจะพัฒนา เป็นมดงาน นางพญามดจะมีชีวิตอยู่ได้นาน 1 -2 ปี จนถึง 12 – 15 ปี ในรังมดรังหนึ่งจะมีมีนางพญามดได้มากกว่า 1 ตัว การดำรงชีวิตของมด มดกินอาหารเกือบทุกชนิด เช่น หวาน ไขมัน พืชผัก และเนื้อสัตว์ทุกชนิด มดบางชนิดมีวัฒนาการสูง สามารถดูดน้ำหวานจากต่อมน้ำหวานของพืชแล้วสะสมน้ำหวานไว้เป็นของมัน


     ชนิดของมดที่พบ

มีมดอยู่หลายชนิดที่มีความเกี่ยวข้องกับมนุษย์และควรรู้จักได้แก่

1.  มดคันไฟ (Solenopsis geminata)

            ลักษณะทางอนุกรมวิธานที่สำคัญ : สีเหลืองแดงมีขนที่หัวและตัว, หนวดมี 10 ปล้อง,อกแคบ, pronotum กลม, pro-mesonotal suture เห็นชัดเจน, pedicel มี 2 ปุ่ม, ท้องรูปไข่,มีลายขวางสีน้ำตาลมีเหล็กใน, ความยาว 7.8 มิลลิเมตร 

            ลักษณะทางชีววิทยา : ทำรังอยู่ใต้ดินที่ร่วนซุยโดยดินทรายรังหนึ่งๆมีรูทางเข้าออกเล็กๆบนพื้นดินได้หลายรูกินแมลงและซากสัตว์เล็กๆเป็นอาหาร

            ความสำคัญทางการแพทย์ : ใช้เหล็กในต่อยผู้ถูกต่อยจะรู้สึกเจ็บแสบคล้ายถูกไฟลวกจึงเรียกมดคันไฟหลังจากถูกต่อยจะมีอาการบวมแดงขยายกว้างขึ้นและจุดที่ถูกต่อยจะใสคล้ายถูกไฟลวกและจะมีอาการคันมากเมื่อเกาผิวหนังจะบวมแดงแผ่กว้างขึ้น

2.  มดละเอียดหรือมดเหม็น (Tapinoma melanocephalum)

            ลักษณะทางอนุกรมวิธานที่สำคัญ : หัวและอกสีดำท้องสีน้ำตาลอ่อนปล้องหนวดมี scapeและ funicle ยาวตารวมใหญ่อยู่ด้านหน้า, pedicel มีปุ่ม 1 ปุ่มมีลักษณะแบนปล้องแรกของท้องส่วน gaster ยื่นไปคลุมบน pedicel

            ลักษณะทางชีววิทยา : ทำรังบนดินร่วนบริเวณโคนต้นไม้เช่นต้นไผ่ชอบซ่อนตัวตามกาบใบที่มีความชุ่มชื้น

            ความสำคัญทางการแพทย์ : เมื่อเข้ามาหาอาหารในบ้านเรือนจะขับถ่ายสารปนเปื้อนใส่อาหารทำให้มีกลิ่นเหม็นทำอันตรายคนโดยการกัดแต่จะเกิดอาการคันเพียงเล็กน้อยไม่รุนแรง


3.  มดละเอียด (Monomorium pharaonis)

            ลักษณะทางอนุกรมวิธานที่สำคัญ : สีเหลืองจนถึงสีน้ำตาลอ่อนหรือสีแดงสว่างใสท้อง มีสีเข้มเกือบดำหนวดมี 12 ปล้องโดย 3 ปล้องสุดท้ายใหญ่เป็นรูปกระบองตาเล็กอกยาว แคบเห็นเส้นแบ่งอกปล้องที่ 2 และปล้องที่ 3 (meso-metanotal suture) ชัดเจน pedicel มี 2 ปุ่มรูปไข่มีขนปกคลุมทั่วร่างกายลำตัวมีความยาว 1.5-2 มิลลิเมตร

            ลักษณะทางชีววิทยา : เป็นมดที่ทำรังหลักหรือรังใหญ่ (mother colony) อยู่ภายนอก บ้านแต่มดงานจะเข้ามาหาอาหารภายในบ้านเรือนรังจะมีขนาดต่างๆกันตั้งแต่รังขนาดเล็ก จนถึงรังขนาดใหญ่ที่มีประชากรเป็นหมื่นเป็นแสนตัวและพบว่ามดชนิดนี้สามารถสร้างรังย่อย (daughter colony) แตกออกมาจากรังหลักกระจายอยู่ในบ้านหรือตามที่อยู่อาศัยต่างๆของ คนเช่นอพาร์ตเมนต์โรงงานโรงพยาบาลโดยรังย่อยเหล่านี้จะซ่อนอยู่ตามรอยแตกของผนัง ช่องว่างตามกำแพงกล่องสวิตช์ไฟนอกจากนี้ภายในรังเดียวกันสามารถมีมดราชินีได้มากกว่า 1 ตัวมดละเอียดเป็นมดที่ผสมพันธ์ุภายในรังและผสมพันธ์ุได้ทั้งปีหลังผสมพันธ์ุแล้วราชินี ตัวใหม่จะออกจากรังเดิมเพื่อไปสร้างรังใหม่ มดละเอียดชนิดนี้กินอาหารได้หลายชนิดโดยกินได้ทั้งน้ำตาลและโปรตีนพวกเนื้อสัตว์ เศษซากแมลงที่ตายแล้วเลือดน้ำเหลืองและสารคัดหลั่งอื่นๆจากร่างกายของคนเป็นมดที่ จัดได้ว่าทำการควบคุมได้ยากเนื่องจากเป็นมดที่มีขนาดเล็กหลบซ่อนตัวได้ง่ายหากินไกล ออกไปจากรังมีทั้งรังหลักและรังย่อยซึ่งยากต่อการค้นหาและพบว่าการใช้สารเคมีในการ ฉีดพ่นที่รังใดรังหนึ่งและทำให้ประชากรแตกกระจายบางครั้งจะทำให้มดชนิดนี้ยิ่งแตกออก เป็นรังย่อยๆหรือเรียกว่า budding ซึ่งทำให้การควบคุมทำได้ยากยิ่งขึ้น

            ความสำคัญทางการแพทย์ : มีเหล็กในแต่ไม่ปรากฎให้เห็นเมื่อถูกรบกวนจะป้องกัน ตัวโดยการกัดผู้ถูกกัดจะรู้สึกเจ็บและคันเพียงเล็กน้อยปัญหาทางการแพทย์ส่วนใหญ่จะเกิด ขึ้นเมื่อมดชนิดนี้เข้ามาสร้างรังย่อยอยู่ในโรงพยาบาลและมดงานออกหาอาหารภายใน โรงพยาบาลซึ่งจะทำให้เกิดการปนเปื้อนหรือการแพร่กระจายของเชื้อโรคระหว่างพื้นที่ต่างๆ ในโรงพยาบาลได้

4.  มดละเอียด (Monomorium indicum)

            ลักษณะทางอนุกรมวิธานที่สำคัญ: สีแดงสนิมปนสีน้ำตาลเข้มส่วนท้องใส, หนวดมี 12 ปล้อง, อกยาวแคบเห็น meso-metanotal ชัดเจน, pedicel มี 2 ปุ่มรูปไข่, ความยาว2.5-3.5 มิลลิเมตร

            ลักษณะทางชีววิทยา: ทำรังในดินพบตามบ้านที่อยู่อาศัยชอบกินของหวานเมื่อมากินอาหารแล้วจะปล่อยสิ่งขับถ่ายทำให้อาหารมีรสชาติเปลี่ยนไปเคลื่อนไหวรวดเร็วมักเห็นเดินบนกำแพงหรือฝาห้องมากกว่าบนพื้น

            ความสำคัญทางการแพทย์: เมื่อถูกรบกวนจะป้องกันตัวโดยการกัดผู้ถูกกัดจะรู้สึกเจ็บและคันเพียงเล็กน้อย


5.  มดง่าม(Pheidologeton diversus)

            ลักษณะทางอนุกรมวิธานที่สำคัญ : สีน้ำตาลเข้ม, กรามใหญ่, หนวดมี 11 ปล้อง pronotumและ mesonotum นูน, metanotum เว้าลงมี metanotal spine, pedicel มี 2 ปุ่ม ส่วนท้องกว้างรูปไข่, ความยาว 4.5-13 มิลลิเมตร

            ลักษณะทางชีววิทยา : ทำรังในดินร่วนมองผิวดินจะเห็นเป็นเพียงรูเปิดเล็กๆและมี ดินร่วนกองอยู่รอบๆของขอบรูเข้าออกชอบทำรังในที่ร่มชื้นกินแมลงและเนื้อสัตว์เป็นอาหาร

            ความสำคัญทางการแพทย์ : ทำอันตรายคนโดยการกัดอาการจะคล้ายคลึงกับอาการ ของคนที่ถูกมดคันไฟต่อยมาก

6.  มดแดง(Oecophylla smaragdina)

            ลักษณะทางอนุกรมวิธานที่สำคัญ : สีแดงสนิมหัวและส่วนอกมีขนสั้นๆสีขาว, หนวดมี 12 ปล้อง, อกยาว, pronotum โค้ง, mesonotum คอดคล้ายอาน, metanotum กลม, ขาเรียวยาว pedicel มี 1 ปุ่ม, ท้องสั้น, ความยาว 15-18 มิลลิเมตร

            ลักษณะทางชีววิทยา : ทำรังบนต้นไม้ใหญ่เช่นต้นมะม่วงชมพู่โดยใช้ใบเหล่านี้ประกอบ เป็นรังโดยตัวอ่อนจะปล่อยสารเหนียวออกมาเชื่อมใบไม้ประกบกันเมื่อพบเหยื่อจะทำร้ายเหยื่อ โดยการกัดและฉีดสารพิษออกทางปลายท้องเมื่อเหยื่อได้รับบาดเจ็บก็จะช่วยกันลากกลับรัง

            ความสำคัญทางการแพทย์ : เมื่อถูกรบกวนจะทำอันตรายคนโดยการกัดผู้ถูกกัดจะ รู้สึกเจ็บปวดมากต่อมาจะเกิดอาการบวมคัน

7.  มดแดง(Oecophylla smaragdina)

            ลักษณะทางอนุกรมวิธานที่สำคัญ : สีดำปนน้ำตาลเหลืองมีขนกระจายบางๆไม่เป็น ระเบียบหนวด 12 ปล้องอกยาว pronotum กว้าง, mesonotum เล็กแบนรูปไข่, metanotum รูปไข่นูน, pedicel มี 2 ปุ่ม, ท้องรูปไข่เล็กปลายแหลมโค้งมีเหล็กในที่ปลายลำตัวยาว 10.5-13 มิลลิเมตร

            ลักษณะทางชีววิทยา : ทำรังอยู่ในต้นไม้ใหญ่ที่ตายแล้วเช่นต้นก้ามปูทำให้ต้นไม้ เป็นโพรงอยู่ภายในหากินบนต้นไม้และพื้นดินใกล้เคียงเป็นพวกกินเนื้อเป็นอาหาร

            ความสำคัญทางการแพทย์ : จะต่อยโดยใช้เหล็กในผู้ถูกต่อยจะปวดคล้ายถูกผึ้งต่อยเหล็กในจะทำให้เกิดความเจ็บปวดและอาการบวมต่อมาจะคันมาก  

 




KNOWLEDGE PESTINDEX

ความรู้เกี่ยวกับปลวก article
ความรู้เกี่ยวกับแมลงสาบ article
ความรู้เกี่ยวกับหนู article
ความรู้เกี่ยวกับยุง article
ความรู้เกี่ยวกับมอด article
ความรู้เกี่ยวกับไรฝุ่น article
ความรู้เกี่ยวกับเรือด article