ReadyPlanet.com
dot
dot
ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อ
dot
dot


ID 0863661036
สมาคมผู้ประกอบกิจการกำจัดแมลง
สมาคมคนกำจัดแมลงแห่งประเทศไทย


ความรู้เกี่ยวกับยุง article


      ในโลกนี้มียุงกว่า 4,000 ชนิดจัดอยู่ในอันดับ Diptera วงศ์ Culicidae ยุงบางชนิดเป็นพาหะนำโรคมาสู่คนและสัตว์ เช่นยุงลายAedes aegypti และAe. albopictus นำโรคไข้เลือดออก (Dengue haemorrhagic fever) ไข้ชิคุนกุนยา  ยุงCulex tritaeniorhynchus นำโรคไข้สมองอักเสบ (Encephalitis) ยุงก้นปล่องนำโรคมาลาเรีย (Malaria) และยุงเสือนำโรคฟีลาเรีย (Filariasis) หรือโรคเท้าช้างโรคที่กล่าวมานี้เกิดในคนส่วนในสัตว์นั้นยุงก็มีความสำคัญมากเช่นกันเนื่องจากเป็นตัวนำโรคต่างๆหลายชนิดในสัตว์เช่นยุงรำคาญCulex quinquefasciatus นำโรคพยาธิหัวใจสุนัขมาลาเรียในนกยุงบางชนิดชอบกัดวัวทำให้น้ำหนักวัวลดและผลิตนมได้น้อยลงนอกจากเป็นอันตรายต่อคนและสัตว์เลือดอุ่นแล้วยุงยังเป็นอันตรายต่อสัตว์เลือดเย็นอีกด้วย

ยุงมีการเจริญเติบโตและเปลี่ยนแปลงรูปร่างแบบสมบูรณ์ (complete metamorphosisหรือ holometabola) การเจริญเติบโตในแต่ละระยะต้องมีการลอกคราบ (molting) ซึ่งถูกควบคุมโดยฮอร์โมนที่สำคัญ 3 ชนิดคือ brain hormone, ecdysone และ juvenile hormoneรูปร่างในแต่ละระยะแตกต่างกันมากแบ่งเป็น 4 ระยะคือระยะไข่ (egg) ระยะลูกน้ำ (larva)ระยะตัวโม่ง (pupa) และระยะตัวเต็มวัย (adult)

 

  ยุงที่มีความสำคัญทางการแพทย์และพบปัญหามากในประเทศไทย  


     ยุงลายบ้าน(Aedes aegypti)

            เป็นตัวการสำคัญในการนำโรคไข้เลือดออกและไข้ชิคุนกุนยาในประเทศไทย (ทางอเมริกาใต้แอฟริกานำไข้เหลือง yellow fever) มีถิ่นกำเนิดจากแอฟริกาชอบอาศัยอยู่ในบ้านหรือ บริเวณรอบๆบ้านแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายเช่น ตุ่มน้ำถังซีเมนต์ใส่น้ำ บ่อคอนกรีตในห้องน้ำ, จานรองขาตู้กันมด, ยางรถยนต์เก่าๆ, กระป๋อง, แจกัน, รางน้ำฝนที่มีน้ำขัง, กะลามะพร้าว, กาบใบต้นไม้, รูต้นไม้  ยุงลายมีการเจริญเติบโตและเปลี่ยนแปลงรูปร่างแบบสมบูรณ์ (complete metamorphosis) เช่นเดียวกับยุงชนิดอื่นการเจริญเติบโตแบ่งเป็น 4 ระยะคือ

1. ไข่ (egg) ยุงลายจะวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆติดไว้ที่ผนังด้านในเหนือระดับน้ำบริเวณที่ชื้นๆไข่ใหม่มีสีขาวต่อมาประมาณ 12-24 ชั่วโมงจะเปลี่ยนเป็นสีดำระยะฟักตัวในไข่ประมาณ 2.5-3.5 วัน  ในสภาพความชื้นสูงและอุณหภูมิประมาณ 28-30สามารถอยู่ในที่แห้งได้นานเป็นปีเมื่อระดับน้ำท่วมไข่จึงฟักตัวออกมาเป็นลูกน้ำ

2. ลูกน้ำ (larva) หลังจากออกจากไข่แล้วลูกน้ำเริ่มกินอาหารมีการเจริญเติบโตและลอกคราบ 4 ครั้ง ระยะในการลอกคราบแต่ละครั้งเรียกว่า instar เช่นลูกน้ำที่ฟักออกจากไข่ เรียกว่า first instar เมื่อลอกคราบต่อไปกลายเป็น second instar ลูกน้ำใช้เวลาในการเจริญเติบโตประมาณ 7-10 วัน ลอกคราบครั้งสุดท้ายกลายเป็นตัวโม่งหรือดักแด้

3. ตัวโม่ง (pupa) ระยะนี้ตัวจะโค้งงอไม่มีการกินอาหารชอบลอยติดกับผิวน้ำ ใช้เวลา 1-2 วันจึงลอกคราบออกเป็นตัวเต็มวัย

4. ตัวเต็มวัย (adult) เริ่มผสมพันธุ์เมื่ออายุประมาณ 24 ชั่วโมงตัวเมียผสมพันธุ์เพียงครั้งเดียว  แต่วางไข่ได้หลายครั้งส่วนตัวผู้ผสมพันธุ์ได้หลายสิบครั้งในหนึ่งชั่วโมง  หลังจากนั้นยุงตัวเมียจะออกกินเลือด  ยุงลายชอบกินเลือดคนและหากินในเวลากลางวัน  บางครั้งยุงลายอาจกัดคนในเวลากลางคืนแต่เป็นภาวะจำเป็นเช่นไม่พบเหยื่อในเวลากลางวันหลังจากกินเลือดอิ่มแล้วยุงตัวเมียจะไปเกาะพักรอให้ไข่เจริญเติบโตเรียกช่วงนี้ว่า gonotrophic cycle  ซึ่งใช้เวลาประมาณ 2.5-3.5 วัน  แหล่งเกาะพักของยุงลายได้แก่บริเวณที่มืดอับลมในห้องน้ำ ในบ้านโดยเฉพาะตามสิ่งห้อยแขวนภายในบ้านเช่น เสื้อผ้า มุ้ง ม่าน หลังจากไข่เจริญเต็มที่ แล้วจะบินไปหาที่วางไข่ชอบที่ร่มน้ำที่มีใบไม้ร่วงลงไปและมีสีน้ำตาลๆจะกระตุ้นการวางไข่ได้ดีแต่ยุงลายไม่ชอบน้ำที่มีกลิ่นเหม็น


     ยุงลายสวน (Aedes albopictus)

            ยุงลายชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดในเอเชียลักษณะคล้ายคลึงกับ ยุงAe. aegypti มาก  แต่สังเกตได้จากเกล็ดสีขาวบนด้านหลังของอกไม่เป็นรูปเคียว  แต่เป็นเส้นตรงเส้นเดียวพาดตามยาวตรงกลางอุปนิสัยความเป็นอยู่คล้ายยุงลายบ้าน  แต่มักพบอยู่ในชนบทแหล่งน้ำที่ใช้เพาะพันธุ์มักจะเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติในสวนผลไม้  สวนยาง  อุทยานต่างๆ เช่น โพรงไม้,กระบอกไม้ไผ่, ลูกมะพร้าว, กะลา, กระป๋อง, ขวดพลาสติกที่นักท่องเที่ยวทิ้งไว้ยุงลายสวนบินได้ไกลกว่ายุงลายบ้าน ยุงชนิดนี้เป็นตัวการสำคัญในการนำเชื้อไวรัสโรคไข้เลือดออกและไข้ชิคุนกุนยาได้เช่นเดียวกัน


     ยุงรำคาญ(Culex quinquefasciatus)

            พบมากในแอฟริกาและเอเชียวางไข่เป็นแพในน้ำเน่าเสียแหล่งเพาะพันธุ์มักอยู่ใกล้บ้านไข่แพหนึ่งมีประมาณ 200-250 ฟองที่อุณหภูมิ 24-30 องศาเซลเซียส ไข่ฟักภายใน 30 ชั่วโมงออกหากินกลางคืนชอบกินเลือดคนในประเทศพม่าอินเดียอินโดนีเซียยุงชนิดนี้เป็นตัวการสำคัญในการนำโรคฟิลาเรียสำหรับประเทศไทยพบว่ายุงชนิดนี้สามารถนำเชื้อฟิลาเรียได้เช่นกันแต่การศึกษาเรื่องนี้ในสภาพธรรมชาติยังมีข้อมูลน้อยนอกจากนี้ยุงอาจทำให้มีอาการคันแพ้และเกิดเป็นแผลพุพองได้ในบริเวณที่ถูกยุงกัดและใกล้เคียง




KNOWLEDGE PESTINDEX

ความรู้เกี่ยวกับปลวก article
ความรู้เกี่ยวกับมด article
ความรู้เกี่ยวกับแมลงสาบ article
ความรู้เกี่ยวกับหนู article
ความรู้เกี่ยวกับมอด article
ความรู้เกี่ยวกับไรฝุ่น article
ความรู้เกี่ยวกับเรือด article